แนวคิดของการปล่อยหุ่นยนต์เข้าไปในไร่นา แล้วปล่อยให้มันทำงานเอง กำลังได้รับความสนใจจากนักวิจัยทางด้านเกษตรทั่วโลก ในระยะแรกหุ่นยนต์เกษตรกร น่าจะมีลักษณะของนักสืบในไร่นา คอยตรวจหาสิ่งผิดปกติ และตรวจวัดปัจจัยแวดล้อมในการเพาะปลูกต่างๆ ให้แก่เกษตรกร ความชื้นในอากาศ ความชื้นในดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินในแปลงต่างๆ หรือ สุ่มตัวอย่างๆ ในไร่ เช่น วิ่งไปดูว่าผลไม้ที่ปลูกในแต่ละต้น เป็นอย่างไร มันสามารถเก็บข้อมูลแล้วจดจำได้อย่างแม่นยำ ทำให้เจ้าของไร่ทราบอย่างละเอียดว่าต้นไหนมีผลกี่ลูก ขนาดเฉลี่ยเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้ประเมินวันเก็บเกี่ยว และ ทราบปริมาณผลผลิตได้อย่างแม่นยำ และจากนั้น อีกหน่อย มันก็อาจจะเริ่มทำงานต่างๆ แทนเกษตรกรได้ เช่น การกำจัดแมลง การให้ปุ๋ย การเก็บเกี่ยว

     กลุ่มวิจัย CIMS มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาหุ่นยนต์อัจฉริยะเพื่อการเกษตรหลากหลายรูปแบบ เช่น

  • หุ่นยนต์อัตโนมัติภาคพื้นดิน สำหรับการสำรวจและลาดตระเวนทางพื้นดิน
  • อากาศยานอัตโนมัติไร้คนขับขนาดเล็ก สำหรับสำรวจและลาดตระเวนทางอากาศ
  • สถานีตรวจวัดสภาพน้ำ สำหรับสำรวจและลาดตระเวนทางน้ำ

     โดยหุ่นยนต์อัตโนมัติทั้งหมดสามารถติดต่อสื่อสาร และ/หรือ ส่งข้อมูล ภาพถ่าย ตำแหน่ง และข้อมูลอื่นๆ ที่สำคัญทั้งหมด ไปยังฐานบังคับการ และหุ่นยนต์ตัวอื่นๆ ได้อย่างอิสระ ภายใต้การสื่อสารไร้สายแบบ Zigbee และ telemetre ทำให้ผู้ควบคุมสามารถกำหนดเป้าหมายให้หุ่นยนต์แต่ละตัวได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ รวมถึงการดูสถานะของหุ่นยนต์แต่ละตัวเพื่อการดูแล ซ่อมบำรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

Agr robot

ที่มา: http://smartfarmthailand.com/precisionfarming/index.php/2014-01-08-06-58-4