ในการจัดทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานในภาคเกษตรกรรม (ปศุสัตว์) ได้มีการกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะใช้กรอบในการกำหนดมาตรการ 4 กรอบ คือ กรอบที่ 1 การดำเนินงานด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ กรอบที่ 2 การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ กรอบที่ 3 การดำเนินงานด้านการพัฒนาบุคลากร และกรอบที่ 4 การดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบ ซึ่งมาตรการที่กำหนดในแต่ละกรอบนั้น พพ. ได้นำ (1) แผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ของประเทศที่เกี่ยวข้อง มาพิจารณาร่วมกัน ได้แก่ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (3) ประเด็น การเกษตร (พ.ศ. 2561-2580) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561-2580) แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) แผนปฏิบัติการระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561-2580) แผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561-2580) และแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว พ.ศ. 2558-2579 ของกระทรวงพลังงาน โดยนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ของประเทศที่เกี่ยวข้อง (2) ผลการสำรวจข้อมูลของโครงการฯ และ (3) ผลการรวบรวมข้อมูลข้อคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการในภาคเกษตรกรรม (ปศุสัตว์) ที่เกี่ยวข้อง มาพิจารณา โดยหลักการประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานในภาคเกษตรกรรม (ปศุสัตว์) นั้น พพ. มีแนวทางในการประเมิน คือ การลดการใช้พลังงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์การเกษตรที่ใช้ในระบบที่ใช้พลังงานสูง เช่น ระบบการเลี้ยง(โรงเรือน) ระบบแสงสว่าง ระบบปั๊มน้ำ ระบบผลิตอาหาร และระบบการจัดการของเสีย เป็นต้น รวมถึงการเพิ่มปริมาณการผลิตจากการใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทางการเกษตร เพื่อลดอัตราการใช้พลังงานต่อตัวปศุสัตว์ของการเลี้ยงปศุสัตว์แต่ละชนิด