การประเมินการใช้พลังงานของพืชแต่ละชนิด

หากพิจารณาปริมาณพลังงานที่ใช้ในการปลูกพืชทั้ง 31 ชนิด พบว่าการปลูกพืชของประเทศไทย มีการใช้พลังงานรวม 1,305.287 ktoe โดยพิจารณาปริมาณการใช้พลังงานรวมของพืชที่ใช้พลังงานสูงสุด 5 อันดับแรก

การประเมินขั้นตอนการเพาะปลูก

จากปริมาณการใช้พลังงานในการดำเนินกิจกรรรมในละขั้นตอนของแต่ละพืชสามารถสรุปปริมาณการใช้พลังงานรวมในแต่ละขั้นตอนได้ ดังนี้ การเตรียมดิน 576.639 ktoe คิดเป็นร้อยละ 48.36 การเตรียมพันธุ์ 22.160 ktoe คิดเป็นร้อยละ 1.85 การเพาะปลูก 83.621 ktoe คิดเป็นร้อยละ 7.00 การดูแลรักษา 184.805 ktoe คิดเป็นร้อยละ 15.50 การเก็บเกี่ยว 325.121 ktoe คิดเป็นร้อยละ 27.27 จากข้อมูลนี้จะเห็นว่า การใช้พลังงานในการปลูกพืชจะอยู่ในขั้นตอน การเตรียมดิน การเก็บเกี่ยว และ การดูแลรักษาเป็นหลักซึ่งศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานหลัก ๆ จะอยู่ในขั้นตอนกระบวนการดังกล่าวเช่นกัน โดยที่ปรึกษาจะนำข้อมูลนี้ไปทำการกำหนดมาตรการเพื่ออนุรักษ์พลังงานในแต่ละขั้นตอน โดยจะเน้นขั้นตอนที่มีการใช้พลังงานสูงเป็นหลัก

การประเมินระดับเครื่องจักร

หลังจากการประเมินการใช้พลังงานในระดับของขั้นตอนการทำงานแล้ว จะได้ขั้นตอนที่มีการใช้พลังงานสูง คือ การเตรียมดิน การเก็บเกี่ยว และการดูแลรักษา ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะมีการใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ โดยจากการสำรวจการใช้พลังงานในโครงการ พบว่าในขั้นตอนการเตรียมดินกว่าร้อยละ 80 จะใช้รถแทรกเตอร์เป็นหลัก ส่วนในขั้นตอนการเก็บเกี่ยว จะใช้รถเก็บเกี่ยวแยกตามชนิดของพืชเป็นหลัก และขั้นตอนการบำรุงรักษา จะเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการสูบน้ำเพื่อให้น้ำแก่พืชและเครื่องพ่นสารเคมี ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูล พบว่าเครื่องจักรที่มีการใช้งานในภาคการเกษตรมีรายละเอียดแสดงดังตาราง

 

 

แนวทางการกำหนดมาตรการ

ารกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงาน จะใช้หลักการประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานในภาคเกษตรกรรม (พืชไร่และพืชสวน)) มีแนวทางในการประเมิน คือ การลดการใช้พลังงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์การเกษตรที่ใช้ในกระบวนการที่ใช้พลังงานสูง (เช่น กระบวนการเตรียมดิน การบวนการดูแลรักษา กระบวนการเพาะปลูก และกระบวนการเก็บเกี่ยว เป็นต้น) ในปัจจุบัน และการเพิ่มปริมาณการผลิตจากการใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทางการเกษตร เพื่อลดอัตราการใช้พลังงานต่อตันหรือต่อไร่ของการผลิตพืชแต่ละชนิด จากนั้นทำการกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะใช้กรอบในการกำหนดมาตรการ 4 กรอบ คือ กรอบที่ 1 การดำเนินงานด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ กรอบที่ 2 การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ กรอบที่ 3 การดำเนินงานด้านการพัฒนาบุคลากร และกรอบที่ 4 การดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบ